ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน



วัตสัน (John B.Watson) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้นำกลุ่มจิตวิทยา
พฤติกรรมนิยม นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว(neutral-passive) การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้หรือวัดได้

แนวคิด  
           วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลัก
สำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน

การทดลอง
            เริ่มโดยผู้วิจัยเคาะแผ่นเหล็ก ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR) คือ ความกลัว Watsonได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที

แผนผังการทดลอง

เสียงดัง  (UCS)                           --------------             กลัว (UCR)
หนูขาว  (neutral)                        --------------             ไม่กลัว
                           หนู   เสียงดัง                            --------------             กลัว  (CR)
                           หนูขาว    (CS)                             --------------             กลัว  (CR)

จากการทดลอง วัตสัน สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1)      พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้า ที่วาง
เงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2)      เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

2.1.3    การนำไปประยุกต์ใช้   สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของ

เด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น